เคล็ดลับดูแลน้องหมา

แนวทางการปฐมพยาบาลให้น้องหมาเบื้องต้น

แนวทางการปฐมพยาบาลให้น้องหมาเบื้องต้น
 

3 เทคนิคปฐมพยาบาลน้องหมาเบื้องต้น เจ้าของสามารถเยียวยาได้ตัวเอง

เหตุการณ์ไม่คาดฝันสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แม้จะระมัดระวังเพียงใด แต่เหตุฉุกเฉินก็สามารถเกิดขึ้นกับน้องหมาของเราได้เสมอ ดังนั้นคงจะดีถ้าเรารู้วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้กับน้องหมาที่เรารัก ซึ่งการปฐมพยาบาลที่ถูกต้องจะช่วยลดความเจ็บปวด และบรรเทาอาการเบื้องต้นไม่ให้รุนแรงมากขึ้นไปกว่าเดิมได้ก่อนที่จะได้พบกับสัตวแพทย์

ในคราวนี้เราขอแนะนำแนวทางการปฐมพยาบาลเบื้องต้นกับเหตุการณ์ที่พบได้บ่อยให้กับน้องหมาสำหรับเหตุฉุกเฉิน

 

1. การปฐมพยาบาลเมื่อน้องหมาถูกสัตว์มีพิษกัด

ในกรณีสัตว์มีพิษนั้นจะสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักคือ แมลงมีพิษ เช่น ตะขาบ แมงป่อง ผึ้ง และอีกประเภทคือ งูพิษ โดยแต่ละแบบจะมีแนวทางดังต่อไปนี้

- แมลงที่มีเหล็กใน: ให้นำเหล็กในออกมาจากผิวหนัง แล้วใช้น้ำแข็งประคบเย็นบริเวณที่ถูกต่อย แล้วรีบพาไปพบสัตวแพทย์โดยเร็ว เพราะสุนัขบางตัวอาจมีอาการแพ้ หรือเกิดการอักเสบตามมาได้

- แมลงที่ไม่มีเหล็กใน: เช่น ตะขาบ ให้ประคบเย็นบริเวณที่ถูกกัด แล้วรีบพาไปพบสัตวแพทย์โดยเร็ว

- งูพิษ: ควรถ่ายรูป หรือจำลักษณะงูให้ได้ ควรยกหรือลดการเคลื่อนไหวบริเวณที่ถูกงูกัด รวมไปถึงพยายามให้น้องอยู่ในภาวะสงบ เพราะยิ่งตื่นเต้นพิษยิ่งจะแพร่กระจายได้เร็วขึ้น จากนั้นรีบพาไปพบสัตวแพทย์โดยเร็วที่สุด

 

2. การปฐมพยาบาลในกรณีน้องหมาได้รับสารพิษ

เมื่อน้องหมาอาจได้รับสารพิษไปโดยไม่รู้ตัว เพราะสารเคมีในชีวิตประจำวันของเรานั้นอาจทำให้เกิดอันตรายได้ รวมไปถึงอาหารบางชนิด เช่น ช็อกโกแลต ก็เป็นพิษต่อน้องหมาเช่นกัน โดยหากพบว่าน้องหมาอาจได้รับสารพิษ จะมีแนวทางการปฐมพยาบาลดังต่อไปนี้

- ห้ามทำให้น้องหมาอาเจียนเด็ดขาด เพราะจะยิ่งทำให้อาการหนักขึ้น

- หากเป็นพิษจากการสัมผัสภายนอก ควรใช้น้ำสะอาดล้างบริเวณที่สัมผัสออกให้มากที่สุด แล้วรีบพาไปพบสัตวแพทย์

- หยิบผลิตภัณฑ์ ขวด หรือฉลากที่คาดว่าน้องหมาได้สัมผัสหรือกินแล้วรีบพาไปพบสัตวแพทย์โดยเร็วที่สุด

 

3. การปฐมพยาบาลในกรณีน้องหมากระดูกหัก

น้องหมาอาจเกิดภาวะกระดูกหักได้จากการตกจากที่สูง ประสบอุบัติเหตุ โดยแผลกระดูกหักนั้นแบ่งได้เป็นสองแบบ คือ แผลกระดูกหักแบบเปิดที่ผิวหนังจะฉีกขาดร่วมด้วย และแผลกระดูกหักแบบปิด คือ กระดูกหักภายในแต่ไม่มีแผลที่ผิวหนัง โดยหากพบว่าน้องหมากระดูกหัก จะมีแนวทางการปฐมพยาบาลดังต่อไปนี้

- ป้องกันไม่ให้น้องเลียหรือกัดแทะบาดแผล

- พยายามให้น้องหมาอยู่ในภาวะสงบที่สุดเพื่อป้องกันไม่ให้บริเวณกระดูกหักมีอาการแย่ลง

- หากเป็นแผลกระดูกหักแบบเปิด ให้ใช้น้ำเกลือล้างเอาคราบดิน และสิ่งสกปรกออกจากแผลให้ได้มากที่สุดแล้วใช้ผ้าก๊อซปิดปากแผลไว้

- หากแผลกระดูกหักที่บริเวณขาที่มีลักษณะห้อยรุ่งริ่ง และอาจทำให้อาการหนักขึ้นเมื่อเคลื่อนย้าย ควรเข้าเฝือกแบบฉุกเฉิน โดยการใช้ไม้บรรทัด หรือแผ่นไม้เล็กแบนดามด้านล่างของขา แล้วใช้ผ้าพันแผลพันล็อกเหนือข้อต่อตำแหน่งที่หัก 1 ข้อ และด้านล่างตำแหน่งที่หักอีก 1 ข้อ โดยการเข้าเฝือกลักษณะนี้จะทำได้เฉพาะแผลกระดูกหักอยู่ใต้ข้อศอก หรือข้อเข่าลงไปเท่านั้น

- ควรให้น้องหมาขยับตัวน้อยที่สุด และระมัดระวังความปลอดภัยในระหว่างพาไปพบสัตวแพทย์ เนื่องจากน้องหมาที่บาดเจ็บในลักษณะนี้อาจแสดงความก้าวร้าว และทำร้ายผู้ที่เข้าหาได้

 

อุบัติเหตุเป็นเหตุการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้เสมอ ดังนั้นเราจึงควรเตรียมพร้อมรับมืออยู่เสมอ แต่อย่างไรก็ดีนอกจากอันตรายจากอุบัติเหตุ และเหตุฉุกเฉินแล้ว เราก็ไม่ควรมองข้ามอันตรายที่อยู่ใกล้ตัวเราในทุกๆวัน เช่น ปรสิตภายนอกและปรสิตภายใน ซึ่งเจ้าปรสิตเหล่านี้ก็สามารถทำให้น้องหมาเกิดโรค และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เช่นกัน

 

Spectra for dog ส่งเสริมให้ดูแลน้องๆอย่างครอบคลุมทั้งภายในและภายนอก ให้ปลอดภัยจากพยาธิ เห็บ หมัด ไร อย่างสม่ำเสมอ

 

สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการป้องกันปรสิตในน้องหมาได้ที่ Line @Spectrafordog หรือ https://www.spectrafordog.com

 

เรื่องที่คุณน่าจะสนใจ

5 ประสบการณ์ตรงโดยสัตว์แพทย์ ในการดูแลน้องหมาแบบครบจริง
คุยเรื่องน้องหมา ประสาคุณหมอ
5 ประสบการณ์ตรงโดยสัตว์แพทย์
เคล็ดลับการดูแลน้องหมาอย่างครบถ้วนจากประสบการณ์ตรงของสัตว์แพทย์ ครอบคลุมทุกเรื่อง
เรื่องของไร รู้ไหม ป้องกันง่ายกว่ารักษา
เคล็ดลับดูแลน้องหมา
เรื่องของไร รู้ไหม ป้องกันง่ายกว่ารักษา
เชื่อว่าปัญหาการป้อนยาน้องหมานั้นเป็นหนึ่งสิ่งที่เจ้าของทุกคนต้องเคยเจออย่างแน่นอน ในวันนี้เราจะมาแนะนำวิธีป้อนยาสำหรับน้องหมาอย่างถูกต้อง ที่บอกเลยว่าป้อนง่าย และไม่ยากอย่างที่คิด
พารู้จักไร 3 ชนิดที่พบบ่อยในน้องหมา
เคล็ดลับดูแลน้องหมา
พารู้จักไร 3 ชนิดพบบ่อยในน้องหมา เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
พารู้จักไร 3 ชนิดพบบ่อยในน้องหมา เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
คัดลอก URL แล้ว