3 โรคยอดฮิตน้องหมาพันธุ์ปอม
เคล็ดลับดูแลน้องหมา

3 โรคยอดฮิตน้องหมาพันธุ์ปอม

โดยทั่วไปแล้วน้องหมาแต่ละสายพันธุ์ก็จะมีโรคประจำพันธุ์ที่แตกต่างกันออกไป เช่นเดียวกันกับน้องหมาขนพองแสนน่ารักอย่างน้องปอมเมอร์เรเนียน อีกหนึ่งพันธุ์ยอดฮิตที่นิยมเลี้ยงกันในบ้านเรา วันนี้เราจึงเอาใจเหล่าคนรักน้องปอมเป็นพิเศษด้วยการแนะนำ 3 โรคยอดฮิตในน้องหมาพันธุ์ปอม สำหรับคนที่กำลังเลี้ยงน้องๆ อยู่หรือวางแผนจะเลี้ยงน้องในอนาคตให้ทราบเพื่อเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการดูแลสุขภาพน้องปอมเบื้องต้นกันครับ

  • โรคสะบ้าเคลื่อน

    โรคสะบ้าเคลื่อนเป็นโรคที่มาคู่กับน้องหมาพันธุ์ปอมจริงๆ ครับ ซึ่งเกิดมาจากการที่ลูกสะบ้าเคลื่อนออกจากร่องกระดูก ทำให้น้องหมาร้องเพราะเจ็บปวด เดินผิดปกติ เจ็บขา เดินยกขา ไม่สามารถเหยียดข้อขาได้ ไม่ลงน้ำหนักเท้า ยิ่งถ้าน้องเป็นหนักก็อาจมีการบิดของกระดูกขาร่วมด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ เราขอแนะนำให้คุณเจ้าของเลี่ยงไม่ให้น้องๆ มีการเคลื่อนไหวที่ส่งผลกระทบต่อกระดูกข้อเข่า เช่น การกระโดดจากที่สูงหรือกระแทกกับอะไรแรงๆ ไม่ให้เดินบนพื้นลื่นๆ อย่างพื้นหินอ่อน และหินแกรนิต ตัดขนเท้าให้เรียบ ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินเกณฑ์ และปรึกษาแพทย์เพื่อให้น้องๆ ทานอาหารเสริมเพื่อบำรุงร่างกายครับ

  • โรคหลอดลมตีบ

    เวลาที่คุณเจ้าของสังเกตเห็นน้องๆ มีอาการไอแห้งๆ คล้ายกับห่านหรือหายใจหอบเสียงดังเวลาที่รู้สึกตื่นเต้น ออกกำลังกายหรืออากาศเย็นๆ คงจะไม่พ้นโรคหลอดลมตีบอย่างแน่นอน ต้นเหตุของโรคนี้เกิดมาจากอวัยวะที่เชื่อมต่อจากกล่องเสียงไปยังปอด ซึ่งประกอบไปด้วยกระดูกอ่อนที่มีลักษณะคล้ายตัว C เมื่อกระดูกอ่อนในบริเวณหลอดลมดังกล่าวอ่อนตัว จึงทำให้หลอดลมแบนยุบตัวลงมา ส่งผลให้เกิดการอุดตันที่ท่อทางเดินหายใจ และหลอดลมตีบแคบ น้องๆ จึงรับออกซิเจนไม่มีเพียงพอ หายใจลำบาก เกิดภาวะลิ้นม่วง และมีโอกาสเสียชีวิตได้ เราสามารถช่วยน้องๆ ได้โดยการควบคุมน้ำหนักของน้องๆ ให้อยู่ในเกณฑ์เพื่อไม่ให้รู้สึกเหนื่อยง่ายหรือไขมันจุกอก ใช้สายรัดอกแทนสายปลอกคอ และเลี่ยงไม่ให้น้องสัมผัสกับอากาศชื้นหรือเย็นจนเกินไปครับ

  • โรคขนร่วงโดยไม่ทราบสาเหตุ

    โรคนี้มักจะพบบ่อยในน้องปอมเพศผู้มากกว่าเพศเมีย ซึ่งทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคาดว่า จะเกิดจากพันธุกรรมจากแม่ของน้องๆ อย่างโรค Black Skin หรือผิวหนังสีดำที่มาคู่กับน้องหมาพันธุ์นี้เลยก็ว่าได้ เบื้องต้นน้องหมาจะขนร่วงบริเวณช่วงท้ายของลำตัว หาง สะโพกและท้ายทอย ผิวหนังที่ขนร่วงก็จะกลายเป็นสีดำเนื่องจากเกิดการสะสมของเม็ดสีนั่นเอง แนวโน้มมาจากการพัฒนาของต่อมขนผิดปกติ ฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำผิดปกติ ไรขี้เรื้อน และเชื้อรา เป็นต้น ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคนี้โดยเฉพาะ อาจต้องให้แพทย์ตรวจเพื่อหาต้นตอของโรค แต่ในความจริงแล้วโรคนี้อาจไม่ได้ส่งผลต่อสุขภาพของน้องๆ แต่อาจจะทำให้น้องๆ ดูไม่สวยไม่หล่อกันเท่านั้นเองครับ เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับโรคนี้เรามาแนะนำให้กับคนรักน้องปอมในวันนี้ โรคดังกล่าวเป็นเพียงแค่โรคหลักๆ ที่พบบ่อยเพียงเท่านั้น ยังไงเหล่าคนรักน้องหมาก็อย่าลืมที่จะสังเกต และหมั่นพาน้องหมาไปตรวจสุขภาพเป็นประจำด้วยนะครับผม!
     

สอบถามเพิ่มเติมการดูแลน้องหมาได้ที่นี่ > https://bit.ly/Spectra_AddLin

เรื่องที่คุณน่าจะสนใจ

ค้นหา 7 จุดซ่อนอันตราย! ที่เห็บมักแอบอยู่บนตัวน้องหมา
เคล็ดลับดูแลน้องหมา
ค้นหา 7 จุดซ่อนอันตราย! ที่เห็บมักแอบอยู่บนตัวน้องหมา
ทายสิ! พยาธิตัวไหนชอบเล่นซ่อนแอบ? เฉลย! เจ้าปรสิตร้ายจอมตัวนั้น ก็คือ “เห็บ” นั่นเอง ศัตรูตัวฉกาจของน้องหมา
5 ประสบการณ์ตรงโดยสัตว์แพทย์ ในการดูแลน้องหมาแบบครบจริง
คุยเรื่องน้องหมา ประสาคุณหมอ
5 ประสบการณ์ตรงโดยสัตว์แพทย์
เคล็ดลับการดูแลน้องหมาอย่างครบถ้วนจากประสบการณ์ตรงของสัตว์แพทย์ ครอบคลุมทุกเรื่อง
เคล็ดลับดูแลน้องหมา
5 วิธีประเมินเมื่อน้องหมามีไข้
เมื่อน้องหมาของเราเซื่องซึม เบื่ออาหารหรือรู้สึกแปลกไปเหมือนจะไม่สบาย เราควรทำอย่างไรดีนะ… แต่นอกจากมีการวัดไข้ในคนด้วยการใช้มือแตะหน้าผากหรือปรอทวัดไข้
คัดลอก URL แล้ว