ปกป้องน้องหมาของเราให้แข็งแรงพร้อมออกไปลุยอยู่เสมอ จากพยาธิ และปรสิตทั้งภายในและภายนอก!
การได้ออกไปวิ่งเล่นข้างนอก คือความสุขที่สุดของน้องหมาแล้ว แต่ปัญหาคือโลกภายนอก มีพยาธิ และปรสิตทั้งภายในและภายนอกอยู่เต็มไปหมด! ไหนจะเห็บ หมัด ไร พยาธิหนอนหัวใจ และพยาธิร้ายอื่น ๆ ที่อาจทำให้น้องหมาป่วยได้ง่าย ๆ…แต่ถ้าเราเริ่มป้องกันตั้งแต่ต้น ก็จะช่วยให้น้องหมาปลอดภัยจากศัตรูที่มองไม่เห็นได้แล้ว
วันนี้ เรามาเจาะลึกเรื่องพยาธิ และปรสิตภายในและภายนอกแบบครบจบกันดีกว่า ตามมาเลย!!
ศัตรูที่เรารู้จักกันที่ของน้องหมา ก็คือเห็บ หมัด ไรที่อยู่ตามซอกหลืบบ้าน พื้นหญ้า ผนัง และจากหมาตัวอื่น นอกจากจิ๋วแล้วก็ยังเป็นพาหะของโรคต่าง ๆ อีกด้วย
เห็บจะเกาะ และไต่บนผิวหนัง อยู่ได้ด้วยการดูดเลือด ส่งผลให้น้องหมาเป็นโรคติดเชื้อในเม็ดเลือดแดงหรือเม็ดเลือดขาว เรียกว่า ‘โรคพยาธิเม็ดเลือด’ ทำให้ระบบร่างกายเสียสมดุล มีอาการเซื่องซึม มีไข้ เบื่ออาหาร อาเจียน รวมถึงโลหิตจาง และเกล็ดเลือดต่ำ บางครั้งอาจรุนแรงจนน้องหมาเสียชีวิต
หมัดจะเหมือนกับเห็บ ทั้งเรื่องเกาะผิวหนัง และดูดเลือด ความน่ากลัวของหมัดอีกอย่างคือ ‘น้ำลายของหมัด’ ต้นเหตุของอาการแพ้ มักมีอาการคัน ขนร่วง และผิวหนังแดงอักเสบ เนื่องจากแพ้น้ำลายหมัด ซึ่งก็ส่งผลร้ายสู่เจ้าของได้เช่นกัน อาจเกิดอาการระคายเคือง และคันที่ผิวหนัง
บางครั้งเราอาจเจอน้องหมาหูบวม ซึ่งนั่นมีสาเหตุมาจากไรหมาที่มองเห็นด้วยตาเปล่าได้ยาก เพราะมีขนาดเล็กมาก ทั้งไรขี้เรื้อนเปียก ไรขี้เรื้อนแห้ง และไรหู
ไรขี้เรื้อนเปียก และไรขี้เรื้อนแห้ง ก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับผิวหนังเหมือนกัน แต่ที่ต่างกัน คือ ‘ไรขี้เรื้อนเปียก’ จะก่อให้เกิดอาการขนร่วง ผิวหนังเยิ้ม และมีอาการคัน เมื่อน้องหมาเกาบ่อย ๆ อาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้ ส่วน ‘ไรขี้เรื้อนแห้ง’ ทำให้มีอาการคันอย่างรุนแรง ขนร่วง และมีสะเก็ดรังแค สามารถติดจากหมาด้วยกัน และยังติดสู่คนอีกด้วย
สุดท้าย ‘ไรหู’ ในหูของน้องหมา อาจพบน้องหมามีปัญหาเกาหู และสะบัดหัวอยู่บ่อย ๆ บางครั้งอาจมีอาการทางประสาท สามารถติดระหว่างน้องหมา โดยเฉพาะในน้องหมาที่ไม่ได้ทำความสะอาดช่องหู จะมีอาการคันรุนแรงบริเวณหู และเกาจนเป็นรอยแดง ส่งผลให้เกิดแผล และขนร่วงบริเวณหู ในบางตัวอาจมีโอกาสติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้ แต่โชคดีที่ไรหูจะไม่ติดสู่คน แต่ถ้าสะสมไปเรื่อย ๆ ก็จะทำให้น้องหมาหูบวมได้
พยาธิภายในเองก็น่ากลัวไม่ต่างพยาธิภายนอก พยาธิภายในจะเข้าไปทำลายการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายน้องหมา ทั้งยังเพิ่มจำนวนได้ตลอดเวลา ซึ่งอาจทำให้น้องหมาป่วย และอาจส่งผลต่อชีวิต
ถ้าไม่อยากให้น้องหมาตาบอด ต้องระวัง! พยาธิตาจะมี ‘แมลงหวี่’ และ ‘แมลงวันผลไม้’ เป็นพาหะ โดยจะปล่อยตัวอ่อนพยาธิในตาสุนัข ทำให้ตาอักเสบ เป็นแผลที่กระจกตา และอาจทำให้น้องหมาตาบอด แถมยังติดสู่คนได้อีกด้วย
น้องหมาจะติดเชื้อได้บ่อย เนื่องจากไข่ของพยาธิจะปะปนมากับอุจจาระของน้องหมาที่ติดเชื้อ ซึ่งไข่ของพยาธิชนิดนี้จะทนทานต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก
เดินทางต่อไปที่ปอดและหัวใจ ก็จะเจอ ‘พยาธิหนอนหัวใจ’ และ ‘พยาธิในปอด’ เป็นพยาธิ 2 ตัวที่ควรรู้จัก พยาธิหนอนหัวใจมียุงเป็นพาหะ ถ้าติดเชื้อจะทำให้น้องหมามีอาการระบบทางเดินหายใจและหัวใจ ในกรณีรุนแรงน้องหมาอาจหัวใจล้มเหลว และเสียชีวิตได้
ส่วนพยาธิในปอดเดินทางมาพร้อมกับหอยทาก น้องหมาที่เดินเล่นแล้วไปกินหอยทากก็มีโอกาสติดพยาธิในปอดได้ พยาธิตัวนี้จะเดินทางตามหลอดเลือดไปที่ปอดหรือหัวใจ ก่อให้เกิดภาวะปอดอักเสบ และอาจเสียชีวิตได้
อีกหนึ่งพยาธิในทางเดินอาหาร ก็คือพยาธิหลอดอาหาร มีพาหะคือ ‘แมลงปีกแข็ง’ น้องหมามักมีอาการท้องเสีย อาเจียน และปวดท้อง ถ้าร้ายแรงอาจถ่ายเป็นเลือด และมีภาวะโลหิตจาง โดยพยาธิหลอดอาหารจะเข้าไปสร้างพังผืดหุ้มตัวในหลอดอาหาร และรอบ ๆ ทำให้น้องหมากลืนอาหารลำบาก และอาเจียนออกมา
น้องหมาอาจติดพยาธิไส้เดือน จากการกินสิ่งปนเปื้อนหรือของตกพื้น หรืออาจติดผ่านสัตว์ชนิดอื่น และกับลูกสุนัขสามารถติดเชื้อพยาธิไส้เดือนจากแม่สุนัขสู่ลูกสุนัขได้ จึงมักพบปัญหานี้ในลูกสุนัขได้บ่อยมาก อาจทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ดูอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และมีลักษณะท้องกาง เกิดการอักเสบที่ลำไส้ มีอาการไอหรือหายใจลำบาก
มีลักษณะปากเป็นตะขอ จึงส่งผลให้เกิดเลือดออกในทางเดินอาหาร น้องหมาอาจถ่ายเป็นเลือด และเกิดปัญหาโลหิตจางได้ รวมถึงแพร่จากแม่สุนัขสู่ลูกสุนัขได้เช่นกัน
และพยาธิภายในทั้ง 5 ตัวสุดท้ายนี้ หากติดเชื้อและอาจก่อโรครุนแรง อาจถึงขั้นทำให้น้องหมาเสียชีวิตได้
เพื่อเป็นการส่งเสริมให้น้องหมามีสุขภาพแข็งแรงเป็นซูเปอร์น้องหมาสุดแข็งแกร่งที่ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ก็จะปลอดภัยจากอันตรายทั้งจากในและนอกบ้าน การรักษาความสะอาด อาหารที่เหมาะสม สุขอนามัยในบ้านที่ดี รวมถึงการป้องกันเห็บ หมัด ไรขี้เรื้อน พยาธิหนอนหัวใจ พยาธิปากขอ และพยาธิอื่นๆ ก็เป็นตัวช่วยให้น้องหมาแข็งแรงและปลอดภัยจากศัตรูตัวร้ายที่ชอบมาทำอันตรายจากน้องหมาของเราได้
Spectra for Dog แนะนำให้พาน้อง ๆ ไปปรึกษาคุณหมอที่โรงพยาบาลสัตว์ใกล้บ้านเป็นประจำทุกเดือนเพื่อให้เค้ามีความสุขกับการผจญภัยในโลกกว้างอย่างไม่สะดุด
ค้นหาโรงพยาบาลสัตว์ใกล้บ้านได้ที่นี่ https://www.spectrafordog.com/TH/clinic.html
หรือปรึกษาการดูแลน้องหมาที่นี่ https://bit.ly/Spectra_AddLine